ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ
knowledge at the beginning about an arbitrator
นาย ศรายุธ กิตติสิทโธ
นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม รุ่นที่ 1
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
บทคัดย่อ
การอนุญาโตตุลาการ เป็นการกระทำที่คู่พิพาทตกลงกันระงับข้อพิพาท ข้อเรียกร้อง ข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นแล้วหรือจะเกิดขึ้นในอนาคต ความหมายของอนุญาโตตุลาการ ประเภทของอนุญาโตตุลาการ สาเหตุที่มีการใช้อนุญาโตตุลาการ กฎหมายอนุญาโตตุลาการกับกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ขั้นตอนกระบวนการพิจารณาในอนุญาโตตุลาการ รวมถึงกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับอนุญาโตตุลาการ
คำสำคัญ: อนุญาโตตุลาการ อนุญาโตตุลาการนอกศาล อนุญาโตตุลาการในศาล อนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ
Abstract
Arbitrator be the behaviour that the litigant agrees hold over the dispute , demand , arguments has that to happen already or happen in the future. The meaning of an arbitrator , a kind of an arbitrator , the cause that have using arbitrator , arbitrator law and arbitrator procedure of market document debt Thai association , procedure step considers in an arbitrator , include other law pertaining to arbitrator.
1. บทนำ
การอนุญาโตตุลาการ (Arbitration) เป็นวิธีระงับข้อพิพาทซึ่งคู่พิพาทตกลงกันตั้งบุคคลที่สาม ซึ่งเรียกว่า อนุญาโตตุลาการ ขึ้นมาเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างกัน และเมื่ออนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาดอย่างใดแล้วย่อมผูกพันให้คู่พิพาทต้องปฏิบัติตาม ดังนั้นในทางวิศวกรรมก่อสร้าง ในปัจจุบันสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ตามโครงการต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งโครงการขนาดใหญ่ และโครงการขนาดเล็ก ทั้งเป็นการร่วมกันลงทุนกับต่างชาติ และทุนโดยเจ้าของคนเดียว ทั้งเกิดโดยผลแห่งผลแห่งสัญญาก่อสร้าง และสัญญาทางการค้า ดังนั้นวิศวกรจึงต้องทำการศึกษาและทำความเข้าใจในเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากสัญญาก่อสร้าง และวิธีระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการ
2. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ
2.1 อนุญาโตตุลาการคืออะไร
อนุญาโตตุลาการ คือ วิธีการระงับข้อพิพาทที่คู่กรณีตกลงกันเสนอข้อพิพาทที่เกิดขึ้นแล้วหรือที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้บุคคลภายนอกซึ่งเรียกว่า อนุญาโตตุลาการ ทำการพิจารณาชี้ขาด โดยคู่กรณีผูกพันที่จะปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
2.2 อนุญาโตตุลาการมี่ประเภท
อนุญาโตตุลาการ แบ่งได้หลายประเภท ดังนี้
1) อนุญาโตตุลาการในศาลกับอนุญาโตตุลาการนอกศาล
1.1) อนุญาโตตุลาการในศาล คือ กรณีที่คู่กรณีซึ่งมีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลตกลงกันให้มีอนุญาโตตุลาการชี้ขาดได้ โดยความเห็นชอบของศาล (มาตรา 210-220 และ 222 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง) แต่วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมเพราะเมื่อมีคดีขึ้นไปสู่ศาลแล้ว คู่ความมักไม่ต้องการให้บุคคลอื่นมาช่วยชี้ขาดให้ แต่ต้องการให้ศาลตัดสินคดีนั้นมากกว่า
1.2) อนุญาโตตุลาการนอกศาล คือ กรณีที่คู่กรณีตกลงกันเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาชี้ขาด โดยไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งอาจตกลงกันไว้ล่วงหน้าก่อนมีข้อพิพาทหรืออาจตกลงกันภายหลังจากที่มีข้อพิพาทแล้วก็ได้
การอนุญาโตตุลาการส่วนใหญ่ในนานาประเทศรวมทั้งประเทศไทยนั้นเป็นการอนุญาโตตุลาการนอกศาล ซึ่งจะอยู่ภายใต้บังคับของ พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545
2) อนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจกับอนุญาโตตุลาการโดยสถาบัน
2.1) อนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจ (Ad Hoc Arbitration) เป็นกรณีที่คู่พิพาทดำเนินการระงับข้อพิพาทตามวิธีอนุญาโตตุลาการด้วยตนเอง กล่าวคือ โดยตั้งอนุญาโตตุลาการและกำหนดวิธีพิจารณาต่างๆเอง และให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทของตน
2.2) อนุญาโตตุลาการโดยสถาบัน (Institutional Arbitration) เป็นกรณีที่คู่พิพาทตกลงระงับข้อพิพาทกันโดยใช้บริการของสถาบันอนุญาโตตุลาการ ซึ่งสถาบันดังกล่าวนี้อาจเป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการด้านอนุญาโตตุลาการโดยเฉพาะ สำหรับประเทศไทย เช่น สถาบันอนุญาโตตุลาการของสำนักงานศาลยุติธรรม สภาอนุญาโตตุลาการของหอการค้าแห่งประเทศไทย ส่วนในต่างประเทศ เช่น สถาบันอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าระหว่างประเทศ (International Chamber of Commerce - ICC) สมาคมอนุญาโตตุลาการของสหรัฐอเมริกา (American Arbitration Association - AAA) หรืออาจเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรเฉพาะด้านที่ให้บริการกับสมาชิกและ/หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สำหรับประเทศไทย เช่น อนุญาโตตุลาการของสำนักงาน กลต. อนุญาโตตุลาการของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย ส่วนในต่างประเทศ เช่น อนุญาโตตุลาการของ NASD
3) อนุญาโตตุลาการในประเทศกับอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ
3.1) อนุญาโตตุลาการในประเทศ เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการในประเทศใดประเทศหนึ่ง ไม่ว่าคู่กรณีจะมีสัญชาติใด
3.2) อนุญาโตตุลาการต่างประเทศ เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการที่ดำเนินการภายนอกประเทศ ไม่ว่าคู่กรณีจะมีสัญชาติใด
2.3 ทำไมจึงต้องใช้หรือต้องมีกระบวนการอนุญาโตตุลาการ
สาเหตุที่ต้องมีหรือใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการก็เนื่องมาจากเหตุผล ดังต่อไปนี้
1) ความรวดเร็ว เนื่องจากการฟ้องคดีต่อศาลนั้นมีขั้นตอนมากและคู่ความยังสามารถอุทธรณ์ ฎีกาต่อไปได้ทำให้เสียเวลามาก แต่กระบวนการอนุญาโตตุลาการจะสิ้นสุดรวดเร็วและไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก
2) ความยุ่งยากและสลับซับซ้อนของคดี เนื่องจากโดยปกติผู้ที่เป็นอนุญาโตตุลาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอนุญาโตตุลาการที่คู่กรณีเลือกมักจะเป็นผู้ที่มีความรู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่พิพาทเป็นอย่างดี ทำให้เข้าใจเรื่องที่พิพาทและพยานหลักฐานต่างๆได้รวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้การชี้ขาดข้อพิพาททำได้รวดเร็วและยุติธรรม ในขณะที่ถ้าเป็นการดำเนินคดีในศาลคู่ความไม่สามารถเลือกผู้พิพากษาที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆมาพิจารณาคดีให้ตนได้ ซึ่งก็ต้องมีการใช้พยานผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความ ทำให้การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างยากลำบากและล่าช้า และอาจมีปัญหาในการรับฟังพยานหลักฐาน เพราะต้องขึ้นอยู่กับว่าพยานผู้เชี่ยวชาญเบิกความอธิบายได้ชัดเจนถูกต้องมากน้อยเพียงใด
3) การรักษาชื่อเสียงและความลับเนื่องจากหลักการพิจารณาคดีของศาลต้องทำโดยเปิดเผย ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าฟังการพิจารณาของศาลได้ สื่อมวลชนก็อาจรับฟังและนำเสนอข่าวได้ง่าย ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อภาพพจน์ทางธุรกิจและการรักษาความลับของคู่กรณี เว้นแต่ว่าจะมีการพิจารณาคดีเป็นการลับ ซึ่งก็จะมีเป็นบางคดีเท่านั้น แต่หลักการดำเนินกระบวนพิจารณาของการอนุญาโตตุลาการนั้นกระทำเป็นความลับ เฉพาะคู่กรณีและผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้นที่มีสิทธิเข้าร่วมการพิจารณา บุคคลภายนอกไม่มีโอกาสรู้ข้อเท็จจริงโดยตรง จึงไม่รู้ว่าคู่กรณีมีข้อพิพาทกันหรือไม่ หรือมีกันอย่างไร จึงเป็นการรักษาชื่อเสียงของคู่พิพาทและความลับทางธุรกิจของคู่กรณีได้เป็นอย่างดี
4) การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาทเนื่องจากแนวทางการพิจารณาคดีของศาลนั้นเป็นการต่อสู้คดีกัน ทำให้คู่กรณีมีความรู้สึกเป็นศัตรูกัน อีกทั้งยังใช้เวลาต่อสู้กันยาวนาน เพราะคดีสามารถอุทธรณ์ ฎีกาต่อไปได้ ซึ่งส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจ แต่กระบวนการอนุญาโตตุลาการนั้นเป็นการระงับข้อพิพาทที่เปิดโอกาสให้คู่กรณีพบปะเจรจาปัญหาที่พิพาทกันโดยตรง บรรยากาศในการพิจารณามีลักษณะเป็นกันเอง ไม่เคร่งเครียด อีกทั้งไม่มีระบบที่ให้คู่กรณีโต้แย้งเอาแพ้ชนะกัน จึงสามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาทซึ่งอยู่ในวงการธุรกิจ ที่ส่วนใหญ่จะต้องคบค้าและประกอบธุรกิจกันต่อไปอีกในอนาคต
2.4 กฎหมายอนุญาโตตุลาการกับกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
ในการดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการของสมาคมนั้นจะต้องนำกฎหมายว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ ซึ่งได้แก่พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาใช้ด้วย ทั้งนี้ เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เรื่อง การอนุญาโตตุลาการ ข้อ 2
2.5 ขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยวิธีอนุญาโตตุลาการของสมาคมอนุญาโตตุลาการ
(1) ผู้มีสิทธิเสนอคำร้อง ได้แก่ สมาชิกสมาคมและคู่พิพาทกับสมาชิก
(2) ข้อพิพาทที่สามารถเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการต้องเป็นข้อพิพาทที่เกิดจากหรือเกี่ยวเนื่องกับการซื้อขายตราสารหนี้ระหว่างสมาชิก หรือสมาชิกกับลูกค้า
(3) วิธีการเสนอข้อพิพาทให้ยื่นคำร้องเสนอข้อพิพาท (Statement of Claim) ต่อสมาคมตามแบบที่สมาคมกำหนด
(3.1) ในกรณีที่คำร้องไม่ครบถ้วนหรือไม่ชัดเจน สมาคมจะแจ้งให้ผู้ร้องแก้ไขให้เรียบร้อยภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับหรือควรได้รับการแจ้งจากสมาคม
(3.2) ในกรณีที่คำร้องถูกต้องครบถ้วน สมาคมจะส่งสำเนาคำร้องพร้อมเอกสารหลักฐานต่างๆ ไปยังคู่พิพาทอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้ยื่นคำคัดค้าน (Statement of Defence) ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้องเสนอข้อพิพาท
(4) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (Mediation) ในกรณีที่มีคู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสงค์จะให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการคนใดคนหนึ่งของสมาคม ก่อนเข้ากระบวนการอนุญาโตตุลาการ สมาคมจะมีหนังสือแจ้งให้คู่พิพาทอีกฝ่ายทราบเพื่อให้ตอบรับภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสมาคม
- หากคู่พิพาทไม่ตอบรับภายในเวลาที่กำหนด สมาคมจะดำเนินกระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อไป
- หากตอบรับกลับมาแล้วดำเนินการไกล่เกลี่ยสำเร็จให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและให้คู่พิพาทลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าว แต่ถ้าไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จก็ให้นำเรื่องกลับเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการต่อไป
(5) การแต่งตั้งและคัดค้านอนุญาโตตุลาการ
(5.1) การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ (Appointment of arbitrator) ให้มีอนุญาโต-ตุลาการ 3 คนเป็นผู้ชี้ขาด ประกอบด้วย บุคคลที่คณะกรรมการสมาคมเลือกจากบัญชีรายชื่ออนุญาโตตุลาการของสมาคมทำหน้าที่เป็นประธาน จำนวน 1 คน และบุคคลซึ่งคู่พิพาทแต่งตั้งอีกฝ่ายละ 1 คน ซึ่งจะมาจากบัญชีรายชื่ออนุญาโตตุลาการของสมาคมหรือไม่ก็ได้
(5.2) การคัดค้านอนุญาโตตุลาการ (Challenge of arbitrator) คู่พิพาทอาจยื่นหนังสือคัดค้านการตั้งอนุญาโตตุลาการได้ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยในความเป็นอิสระหรือความเป็นกลาง ภายใน 15 วันนับแต่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุนั้น แต่ต้องก่อนวันที่อนุญาโตตุลาการสั่งปิดการพิจารณา
(6) การพิจารณา คณะอนุญาโตตุลาการต้องทำคำชี้ขาด (Award) ให้เสร็จ ภายใน 180 วันนับแต่วันที่แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการคนสุดท้าย เว้นแต่คู่พิพาทจะตกลงกันเป็นอย่างอื่น
(7) ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายให้คู่พิพาทชำระ ดังนี้
(7.1) ค่าธรรมเนียม ในอัตรา 1% ของทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
(7.2) ค่าตอบแทนอนุญาโตตุลาการ ใช้อัตราผันแปรตามทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง ดังนี้
ไม่เกิน 500,000 บาท อัตรา 2.5% แต่ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท
500,001 บาท – 1,000,000 บาท อัตรา 2.0% แต่ไม่ต่ำกว่า 12,500 บาท
1,000,001 บาท – 5,000,000 บาท อัตรา 1.5% แต่ไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท
5,000,001 บาท – 10,000,000 บาท อัตรา 1.0% แต่ไม่ ต่ำกว่า 75,000 บาท
10,000,001 บาท – 50,000,000 บาท อัตรา 0.5% แต่ไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท
5,000,001 บาท – 10,000,000 บาท อัตรา 1.0% แต่ไม่ ต่ำกว่า 75,000 บาท
10,000,001 บาท – 50,000,000 บาท อัตรา 0.5% แต่ไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท
มากกว่า 50,000, 000 บาท อัตรา 250,000 บาท
อนึ่ง ในการคำนวณ ถ้าคำนวณได้เป็นเศษให้ปัดเศษขึ้นจนเต็มจำนวน
(8) การวางเงินประกัน
ให้คู่พิพาทวางเงินประกันค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทนอนุญาโตตุลาการตามจำนวนที่คณะกรรมการสมาคมกำหนด ภายใน 15 วันนับแต่สมาคมแต่งตั้งประธานคณะอนุญาโตตุลาการ ทั้งนี้ คณะอนุญาโตตุลาการอาจเรียกให้คู่พิพาทวางเงินประกันเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร
(9) การขอยุติกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ไม่ว่าเวลาใดๆนับแต่วันเสนอข้อพิพาทจนถึงก่อนคณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาด คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายร่วมกัน อาจยื่นคำร้องขอให้ยุติกระบวนการอนุญาโตตุลาการได้ โดยผู้ยื่นคำร้องมีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หรือในกรณีที่คู่พิพาทร่วมกันคำร้องให้กำหนดผู้ที่มีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายมาด้วย
(10) การบังคับตามคำชี้ขาด การบังคับให้เป็นไปตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ว่าจะโดยอนุญาโตตุลาการขององค์กรใด ก็จำเป็นต้องใช้กระบวนการทางศาล เพื่อขอให้ศาลดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำชี้ขาด ซึ่งโดยปกติศาลก็จะไต่สวนว่ามีการทำคำชี้ขาดกันจริงและถูกต้องหรือไม่ และเปิดโอกาสให้คัดค้านได้เฉพาะเหตุตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น หากศาลเห็นว่าคำคัดค้านฟังไม่ขึ้นและมีการทำคำชี้ขาดกันจริง ศาลก็จะพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดนั้น โดยไม่ได้เข้าไปวินิจฉัยในเนื้อหาของเรื่องที่ชี้ขาด
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
- ประกาศคณะกรรมการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เรื่อง การอนุญาโตตุลาการ
3. สรุป
เพื่อศึกษาค้นคว้าถึงความเป็นมาเบื้องต้นที่เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ ให้เข้าใจถึงการอนุญาโตตุลาการ รวมถึงความหมายและวิธีการอนุญาโตตุลาการที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรม อันเป็นการศึกษาแบบบูรณาการทางการศึกษาระหว่างการใช้บังคับกฎหมายในการระงับข้อพิพาท กับงานที่เกี่ยวกับวิศวกรรมก่อสร้าง และกฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุญาโตตุลาการที่วิศวกรควรรู้
กิตติกรรมประกาศ
ผู้เขียนใคร่ขอขอบคุณคณะผู้จัดทำเว็บไซต์ และขอขอบคุณคณะผู้จัดทำเว็ปไซด์กูเกิลล์ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้า สืบค้นข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์ ถือว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเขียนบทความฉบับนี้ รวมถึงขอขอบพระคุณนักวิชาการในด้านกฎหมายเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการในงานวิศวกรรมที่มิได้เอ่ยนามมา ณ ที่นี้
ท้ายที่สุดนี้ขอขอบพระคุณ คณะอาจารย์ ผู้บริหารโครงการพิเศษ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ได้ให้โอกาสผู้เขียนในการศึกษาค้นคว้า เรื่องการอนุญาโตตุลาการเกี่ยวกับงานวิศวกรรม จึงทำให้เกิดเป็นบทความเรื่องนี้ขึ้น
เอกสารอ้างอิง
[1] สำนักงานระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม,2552. คู่มือการระงับข้อพิพาทสำหรับประชาชน. 9,500เล่ม. พิมพ์ครั้งที่5. นนทบุรี : เพชรรุ่งการพิมพ์.
[2] เรือเอก อานนท์ ไทยจำนง, 2548. ปัญหาและแนวทางการใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการเพื่อการระงับ/ยุติข้อพิพาทในงานก่อสร้าง กรณีสัญญาก่อสร้างงานราชการ.บัณฑิตศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[3] มั่น ศรีเรือนทอง, 2541. อนุญาโตตุลาการสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและงานก่อสร้าง. วารสารโยธาสาร 10, 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2541) : 30-31.
[4] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 10 พฤศจิกายน 2552. อนุญาโตตุลาการ.http://th.wikipedia.org/wiki/อนุญาโตตุลาการ
ประวัติผู้เขียน
นายศรายุธ กิตติสิทโธ
วท.บ.(เทคโนโลยีอุตสาหกรรม)
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
ศศ.บ. (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อนึ่ง ในการคำนวณ ถ้าคำนวณได้เป็นเศษให้ปัดเศษขึ้นจนเต็มจำนวน
(8) การวางเงินประกัน
ให้คู่พิพาทวางเงินประกันค่าธรรมเนียมและค่าตอบแทนอนุญาโตตุลาการตามจำนวนที่คณะกรรมการสมาคมกำหนด ภายใน 15 วันนับแต่สมาคมแต่งตั้งประธานคณะอนุญาโตตุลาการ ทั้งนี้ คณะอนุญาโตตุลาการอาจเรียกให้คู่พิพาทวางเงินประกันเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร
(9) การขอยุติกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ไม่ว่าเวลาใดๆนับแต่วันเสนอข้อพิพาทจนถึงก่อนคณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาด คู่พิพาทฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายร่วมกัน อาจยื่นคำร้องขอให้ยุติกระบวนการอนุญาโตตุลาการได้ โดยผู้ยื่นคำร้องมีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หรือในกรณีที่คู่พิพาทร่วมกันคำร้องให้กำหนดผู้ที่มีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายมาด้วย
(10) การบังคับตามคำชี้ขาด การบังคับให้เป็นไปตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ว่าจะโดยอนุญาโตตุลาการขององค์กรใด ก็จำเป็นต้องใช้กระบวนการทางศาล เพื่อขอให้ศาลดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำชี้ขาด ซึ่งโดยปกติศาลก็จะไต่สวนว่ามีการทำคำชี้ขาดกันจริงและถูกต้องหรือไม่ และเปิดโอกาสให้คัดค้านได้เฉพาะเหตุตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น หากศาลเห็นว่าคำคัดค้านฟังไม่ขึ้นและมีการทำคำชี้ขาดกันจริง ศาลก็จะพิพากษาบังคับตามคำชี้ขาดนั้น โดยไม่ได้เข้าไปวินิจฉัยในเนื้อหาของเรื่องที่ชี้ขาด
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
- ประกาศคณะกรรมการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย เรื่อง การอนุญาโตตุลาการ
3. สรุป
เพื่อศึกษาค้นคว้าถึงความเป็นมาเบื้องต้นที่เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ ให้เข้าใจถึงการอนุญาโตตุลาการ รวมถึงความหมายและวิธีการอนุญาโตตุลาการที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรม อันเป็นการศึกษาแบบบูรณาการทางการศึกษาระหว่างการใช้บังคับกฎหมายในการระงับข้อพิพาท กับงานที่เกี่ยวกับวิศวกรรมก่อสร้าง และกฎหมายที่เกี่ยวกับการอนุญาโตตุลาการที่วิศวกรควรรู้
กิตติกรรมประกาศ
ผู้เขียนใคร่ขอขอบคุณคณะผู้จัดทำเว็บไซต์ และขอขอบคุณคณะผู้จัดทำเว็ปไซด์กูเกิลล์ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้า สืบค้นข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์ ถือว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเขียนบทความฉบับนี้ รวมถึงขอขอบพระคุณนักวิชาการในด้านกฎหมายเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการในงานวิศวกรรมที่มิได้เอ่ยนามมา ณ ที่นี้
ท้ายที่สุดนี้ขอขอบพระคุณ คณะอาจารย์ ผู้บริหารโครงการพิเศษ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ได้ให้โอกาสผู้เขียนในการศึกษาค้นคว้า เรื่องการอนุญาโตตุลาการเกี่ยวกับงานวิศวกรรม จึงทำให้เกิดเป็นบทความเรื่องนี้ขึ้น
เอกสารอ้างอิง
[1] สำนักงานระงับข้อพิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม,2552. คู่มือการระงับข้อพิพาทสำหรับประชาชน. 9,500เล่ม. พิมพ์ครั้งที่5. นนทบุรี : เพชรรุ่งการพิมพ์.
[2] เรือเอก อานนท์ ไทยจำนง, 2548. ปัญหาและแนวทางการใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการเพื่อการระงับ/ยุติข้อพิพาทในงานก่อสร้าง กรณีสัญญาก่อสร้างงานราชการ.บัณฑิตศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[3] มั่น ศรีเรือนทอง, 2541. อนุญาโตตุลาการสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและงานก่อสร้าง. วารสารโยธาสาร 10, 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2541) : 30-31.
[4] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 10 พฤศจิกายน 2552. อนุญาโตตุลาการ.http://th.wikipedia.org/wiki/อนุญาโตตุลาการ
ประวัติผู้เขียน
นายศรายุธ กิตติสิทโธ
วท.บ.(เทคโนโลยีอุตสาหกรรม)
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
ศศ.บ. (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
กรรมการผู้จัดการบริษัทเอสพีออดิเตอร์ จำกัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น